fbpx

สถาบันกายจิต ศูนย์รวมหลักสูตรฝึกอบรมเ พื่อพัฒนาบุคลากรและสร้างความแข็งแกร่งให้กับจิตใจ
Spiritual Therapies | Compassion | Releif

แบ่งปันความรู้ : 

แบ่งปันความรู้ : 

Burnout Syndrome คืออะไร ดูแลและป้องกันอย่างไร?

Burnout Syndrome คืออะไร ดูแลและป้องกันอย่างไร? Burnout syndrome คือ ความรู้สึกไม่สบายใจและไม่สะดวกใจที่เกิดขึ้นในการทำงาน โดยมีสาเหตุมาจากทั้งลักษณะงาน ความสัมพันธ์ในที่ทำงาน รวมไปถึงปัจจัยส่วนตัว โดยทั้งหมดนี้รวมกันเข้าเกิดเป็นความเครียดสะสมเรื้อรังจากการทำงาน และเมื่อไม่ได้รับการแก้ไขให้ถูกวิธี จะทำให้เกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน ทั้งนี้ภาวะดังกล่าว สามารถส่งผลกระทบต่ออาการทางกายได้ เช่น ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล. และหากเกิดการสะสมอย่างต่อเนื่องสามารถเกิดเป็นปัญหาทางจิตใจได้

Burnout Syndrome คืออะไร ดูแลและป้องกันอย่างไร?

ใครบ้างที่เสี่ยงกับการเกิดภาวะ Burnout . จากการศึกษาพบว่าบุคคลที่ทำงานที่มีความกดดัน มีความคาดหวังสูงและงานที่อยู่ในสถานการณ์เร่งด่วน เช่น บุคลากรการแพทย์ พนักงานบัญชีธนาคาร รวมไปถึงพนักงานที่ต้องทำงานซ้ำๆ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหมดไฟในการทำงานมากกว่างานประเภทอื่นๆ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าอาชีพอื่นจะไม่เกิดภาวะ Burnout ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยร่วมหลายประการ ดังที่จะกล่าวต่อไป

 

จากสถิติการสำรวจของ Global Workplace 2021 ในมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลกพบว่า พนักงานมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะความเครียดและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Burnout มากกว่า 40% โดยเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และเป็นคน Gen Z มากกว่า Baby boomer และตัวเลขนี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามการเติบโตของกระแสการแข่งขันของเศรษฐกิจโลก และหากลองมาสำรวจถึงค่าเฉลี่ยของพนักงานใน 1 บริษัท แล้วนะคะจะพบว่ามีพนักงานที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด Burnout มากกว่า 35% เลยทีเดียวค่ะ ตัวเลขนี้สะท้อนว่า ภาวะดังกล่าวนั้นได้เข้ามาใกล้ตัวเราทุกทีแล้วนะคะ และมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นกับคนที่อยู่รอบๆตัวเราก็เป็นได้ค่ะ

 

รู้เท่าทัน และ ป้องกันอาการ Burnout ในคนทำงานอย่างไร

    1. สาเหตุบ่มเพาะปัญหา อันเป็นบ่อเกิดของ Burnout syndrome
      จาก Harvard Business review รายงานไว้ในสาเหตุการเกิด Burnout syndrome ในคนทำงาน สามารถเกิดได้จาก

      1. ภาระงานที่มากเกินไปหรือไม่เหมาะกับความถนัดและประสบการณ์การทำงาน เราพบว่าคนทำงานส่วนมากได้รับภาระงานไม่ตรงกับความสามารถของตนเอง และเมื่อทำงานในสถานการณ์ดังกล่างติดต่อกันเป็นเวลานานๆส่งผลให้เกิดความเหนื่อยล้าทางใจ ขาดพลังงานในการทำงาน และการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ
      1. รู้สึกขาดอิสระและพลังในการตัดสินใจต่อการทำงานในด้านต่างๆ รู้สึกสถานการณ์รุมเร้าจนไม่สามารถควบคุมได้ หลายครั้งที่ทำให้ย้อนกลับมาคิดว่าเราไม่มีความสามารถเพียงพอในการแก้ปัญหาในที่ทำงานจนส่งผลให้ขาดความมั่นใจ หวาดวิตกและกลัวที่จะแก้ปัญหาต่างๆที่อาจจะเข้ามาอีกในการทำงาน ตลอดจนรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยในความมั่นคงในอาชีพการงาน
      2. ผลตอบแทนที่ได้รับนั้นไม่คุ้มกับการทุ่มเทในชิ้นงานนั้นๆ ทำให้รู้สึกเหมือนความพยายามในการทำงานให้สำเร็จนั้นสูญเปล่า เพราะรางวัลที่ได้รับนั้นไม่สมเหตุสมผล และไม่ควรค่าพอจะทำต่อ ซึ่งผลตอบแทนนั้นไม่ได้พูดถึงแค่รางวัลหรือสิ่งของที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผลตอบรับและคำชื่นชมจากเจ้านาย และผู้คนรอบข้างอีกด้วย
      1. ความเที่ยงธรรมและความเสมอภาค แม้ว่าการทำงานจะได้ผลลัพธ์ออกมาอย่างไร แต่ถ้าหากเทียบกับงานของคนอื่นๆแล้วเมื่องานนั้นอยู่ในระดับเดียวกันหรือเป็นมาตรฐานเดียวกันก็ควรได้รับการตอบรับอย่างเสมอภาพหรือเท่าเทียม เมื่อพนักงานคนใดคนหนึ่งรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความยุติธรรม เขาเหล่านั้นย่อมรู้สึกลำบากใจหรือขาดแรงผลักดันในการทำงานต่อไป ซึ่งอาจจะส่งผลต่อคุณภาพของชิ้นงานและกระทบกับการทำงานของแผนกนั้นๆได้
      1. สังคมรอบข้าง เมื่อพนักงานได้อยู่ในสังคมที่อุดมไปด้วยการเกื้อหนุน พร้อมรับฟังปัญหาและให้กำลังใจ สังคมในการทำงานนั้นจะมีส่วนช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงานกับพนักงาน ช่องว่างระหว่างความคิดจะเพิ่มขึ้นมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ของเพื่อนร่วมงาน
      2. การให้คุณค่ากับงาน หลายครั้งที่พนักงานคนหนึ่งให้คุณค่ากับงานหนึ่งๆ และทุ่มเททำงานนั้นอย่างดี แต่บริษัทไม่ได้คิดว่างานดังกล่าวนั้นมีความสำคัญต่อองค์กรจึงปัดคุณค่าของงานให้ตกไป หากทั้งสองฝ่ายไม่ได้มีการปรับความเข้าใจและสร้างค่านิยมไปในทางเดียวกันไว้ ก็อาจจะเป็นไปได้ที่จะทำให้พนักงานหมดกำลังใจในการทำงานส่งผลถึงประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

Burnout Syndrome คืออะไร ดูแลและป้องกันอย่างไร?

เมื่อทราบปัญหาของ Burnout syndrome แล้ว ต่อมาจะเป็นวิธีการดูแลและป้องกันภาวะดังกล่าว เริ่มจาก

    1. กำหนดภาระงานที่ชัดเจน และ เหมาะสมกับศักยภาพของพนักงานโดยสร้างข้อตกลง
    2. ทำให้พนักงานมีส่วนร่วมกับงานโดยให้อำนาจและอิสระในการคิดและตัดสินใจ รวมถึงผู้บังคับบัญชาคอยแนะนำด้วยพลังบวก
    3. ให้ผลตอบแทนที่สมเหตุสมผล และ ให้คำชื่นชม ในผลงานที่มีคุณค่าและสร้างประโยชน์เพื่อผลักดันให้พนักงานมีแรงจูงใจและกำลังใจในการทำงาน
    4. ผลักดันสิ่งแวดล้อมและสังคมให้เอื้ออำนวยต่อการสร้างบรรยากาศต่อการทำงาน โดยเน้นให้เหมาะกับบริบทของสภาพตัวบุคคลทำงาน พร้อมทั้งผลักดันบุคลากรให้ได้เรียนรู้สิ่งที่จำเป็นต่อการทำงานทั้งวุฒิภาวะทางปัญญาและด้านจิตใจ และท้ายที่สุดสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กร

 

  1. จัดสวัสดิการเพื่อลดความเหนื่อยล้าของคนทำงานรวมถึงผลประโยชน์อันจำเป็นต่อพนักงาน เช่น การให้วันลาหยุดพัก การชดเชยค่ารักษาพยาบาล การสร้างศูนย์ร้องเรียนหรือให้คำปรึกษาทางด้านจิตใจ
  2. ดูแลตนเองทั้งทางด้านร่างกาย เช่นนอนให้เป็นเวลาและพักผ่อนให้พอ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แบ่งเวลาอย่างมีคุณภาพ ลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำ และปรับความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว รวมไปถึงการดูแลจิตใจไม่ให้ขุ่นหมอง จัดการความคิดต่อสถานการณ์ที่เป็นปัญหา

ท้ายที่สุดแล้วภาวะ Burnout นั้นเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเข้าใจตัวเรา เข้าใจถึงสภาวะที่เราเผชิญจากการทำงาน ยิ่งเราสามารถรับรู้ได้ว่าเกิดภาวะ Burnout กับเราได้เร็วเท่าไหร่และเมื่อยอมรับตัวเองได้ เราและองค์กรก็สามารถร่วมกันแก้ปัญหาเพื่อก้าวผ่านภาวะนี้ไปได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งกับปัจเจกบุคคลและหน่วยงานในท้ายที่สุด

 

Link ที่เกี่ยวข้อง : พนักงาน Burnout กระทบกับงาน จัดการอย่างไร? | Mindspace Ep.3

Reference:

2020 was a record year for feeling stressed at work. (n.d.). Retrieved March 24, 2023, from https://www.weforum.org/agenda/2021/12/employees-stress-mental-health-workplace-environment/#:~:text=43%25%20of%20respondents%20in%20over,daily%20stress%20globally%20at%2057%25.

6 causes of burnout, and how to avoid them. (2021, August 27). Retrieved March 24, 2023, from https://hbr.org/2019/07/6-causes-of-burnout-and-how-to-avoid-them

Bhagavathula, A., Abegaz, T., Belachew, S., Gebreyohannes, E., Gebresillassie, B., & Chattu, V. (2018, November 27). Prevalence of burnout syndrome among health-care professionals working at Gondar University Hospital, Ethiopia. Retrieved March 24, 2023, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6282498/#:~:text=The%20overall%20prevalence%20of%20burnout,and%20depressive%20symptoms%20(46%25).

Know the signs of Job Burnout. (2021, June 05). Retrieved March 24, 2023, from https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/burnout/art-20046642#:~:text=Job%20burnout%20risk%20factors&text=You%20have%20a%20heavy%20workload,no%20control%20over%20your%20work

Resident, 1. (n.d.). Prevalence of burnout syndrome and its related risk factors … : Journal of Family Medicine and Primary Care. Retrieved March 24, 2023, from https://journals.lww.com/jfmpc/Fulltext/2020/09020/Prevalence_of_burnout_syndrome_and_its_related.23.aspx

Zeeburg, D. (2022, December 30). Surprising Remote Work Burnout Statistics in 2023. Retrieved March 24, 2023, from https://www.travelperk.com/blog/remote-work-burnout-statistics/#:~:text=75%25%20of%20workers%20have%20experienced,during%20the%20pandemic%20(FlexJobs).

 

15 กลยุทธ์ในการรักษาพนักงานที่มีประสิทธิภาพในปี 2566